ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปัญหากวนใจเครื่องปริ้น ปริ้นไม่ออก และวิธีแก้ไข

 



ปัญหากวนใจเครื่องปริ้น ปริ้นไม่ออก และวิธีแก้ไข


เครื่องปริ้นพิมพ์ไม่ออก ปัญหาโลกแตกที่ผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์พบเจอกันเป็นประจำ เพราะเราใช้เครื่องปริ้นในการทำงานทั้งในสำนักงาน ห้างร้านต่างๆ รวมถึงที่บ้านก็เช่นกัน ซึ่งปัญหาเครื่องปริ้นท์ใช้งานไม่ได้ เครื่องปริ้นพิมพ์ไม่ออก อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัญหาทางฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือการติดตั้ง รวม

ถึงการใช้งานที่ไม่ถูกต้องด้วย


เมื่อเกิดปัญหาขึ้น จึงจำเป็นต้องหาสาเหตุให้เจอ เพื่อจะสามารถแก้ไขได้ตรงจุด บทความนี้ TechSpace ได้รวบรวมวิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อเครื่องปริ้นไม่สามารถพิมพ์ได้ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยตัวเองได้


1. ปริ้นไม่ออกเนื่องจากกระดาษติด (Paper Jam)

หากเครื่องปริ้นท์เตือนว่ามีกระดาษติด สิ่งที่ต้องทำคือตรวจสอบว่ากระดาษอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ ปกติแล้วการนำกระดาษออกจากเครื่องแล้วเรียงใหม่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ และอย่าลืมดูจำนวนกระดาษให้มีความจุที่เหมาะสมกับถาดกระดาษ เพราะถาดกระดาษของเครื่องปริ้นท์แต่ละเครื่องถูกออกแบบมาเพื่อรองรับความจุกระดาษอย่างจำกัด

2. ไดร์เวอร์เครื่องปริ้นมีปัญหา

ไดร์เวอร์เครื่องปริ้นเป็นตัวกลางที่เชื่อมระหว่างปริ้นเตอร์และคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถสั่งการได้อย่างถูกต้อง บางครั้งปัญหาการปริ้นไม่ออก อาจเกิดจากไดร์เวอร์เครื่องปริ้นที่เก่าเกิน ไปสามารถแก้ปัญหาโดยการอัพเดทไดร์เวอร์  หากไดร์เวอร์เกิดเสียหรือมีปัญหาอื่นๆ การลองอัพเดทหรือติดตั้งไดร์เวอร์ใหม่อาจช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้

3. ปริ้นออกมาสีเพี้ยน

ปัญหาการปริ้นออกมาแล้วสีเพี้ยนเป็นปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ บางครั้งสาเหตุเกิดจากหมึกพิมพ์หมด หรือเกิดจากหัวพิมที่เสื่อมสภาพ ทำให้ปริ้นออกมาแล้วสีเพี้ยนได้ ควรเช็คสภาพหัวพิมว่ามีปัญหาหรือไม่ หากหัวพิมพ์มีปัญหาควรพิจารณาเปลี่ยนหรือซ่อมแซม นอกจากนี้ การตั้งค่าสีในโปรแกรมพิมพ์ไม่ถูกต้องอาจทำให้ปริ้นออกมาสีเพี้ยนจากที่ต้องการได้ ดังนั้น ควรตรวจสอบการตั้งค่าสีก่อนที่จะเริ่มการปริ้น

4. เครื่องปริ้นเชื่อมต่อ Wi-Fi ไม่ได้

ปัจจุบันเครื่องปริ้นเตอร์หลายรุ่นได้รับการออกแบบมาเพื่อสามารถเชื่อมต่อกับ Wi-Fi ได้ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน การเชื่อมต่อแบบไร้สายช่วยลดความยุ่งยากจากสายเคเบิลและเพิ่มความยืดหยุ่นในการวางเครื่องปริ้นเตอร์ในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบบ่อยคือเครื่องปริ้นเตอร์ไม่สามารถเชื่อมต่อกับ Wi-Fi ได้ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การตั้งค่าที่ไม่ถูกต้อง สัญญาณ Wi-Fi ที่ไม่เสถียร หรือปัญหาทางเทคนิคของเครื่องปริ้นเตอร์เอง

 

วิธีการแก้ไขเบื้องต้นที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ได้แก่:

  1. รีสตาร์ทเครื่องปริ้นเตอร์และเราเตอร์ Wi-Fi เพื่อล้างความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในหน่วยความจำ
  2. ตรวจสอบการตั้งค่า Wi-Fi บนเครื่องปริ้นเตอร์ว่าตรงกับการตั้งค่าเครือข่ายหรือไม่
  3. อัปเดตซอฟต์แวร์หรือไดร์เวอร์ของเครื่องปริ้นเตอร์เป็นเวอร์ชันล่าสุด
  4. ตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์อื่นที่เชื่อมต่อกับ Wi-Fi อยู่ในระยะใกล้เคียงที่อาจก่อให้เกิดการรบกวนสัญญาณหรือไม่
  5. หากปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข อาจเรียกเจ้าหน้าที่ไอทีที่เชี่ยวชาญมาช่วยแก้ปัญหา หรือพิจารณาส่งซ่อมแซม

5. หัวพิมพ์อุดตัน

หัวพิมพ์ที่อุดตันเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเครื่องปริ้นเตอร์ที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน หมึกที่แห้งและสะสมอาจทำให้หัวพิมพ์อุดตัน ทำให้ไม่สามารถพิมพ์ได้

 

วิธีการแก้ไขที่แนะนำเบื้องต้น

  1. ใช้สำลีชุบน้ำหรือน้ำยาทำความสะอาดเพื่อเช็ดทำความสะอาดหัวพิมพ์
  2. ใช้ชุดทำความสะอาดหัวพิมพ์ ที่สามารถหาซื้อได้จากร้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือช่องทางออนไลน์
  3. หากหัวพิมพ์ยังคงอุดตัน อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนตลับหมึกใหม่ โดยเฉพาะหากตลับหมึกมีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกมากเกินไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การจองสมาร์ทรูม (Smart Room) สำนักหอสมุดกลาง

                ในยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในสายงานต่าง ๆ สำนักหอสมุดกลาง ก็ได้นำเทคโนโลยีสมาร์ทรูม (Smart Room) เข้ามาใช้ในการบริการนักศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิผลและสะดวกสบายมากขึ้น                Smart Room เป็นพื้นที่การเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและบุคลากรในการค้นคว้า วิจัย และทำงานร่วมกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทันสมัยและสนับสนุนการใช้ทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   โดยสามารถเข้าจองสมาร์ทรูม ( Smart Room) ไดัตามขั้นตอนดังต่อไปนี้                ขั้นตอนที่ 1 เข้าเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผ่านทาง https://library.kmutnb.ac.th จากนั้นเลือกเมนู จองห้องออนไลน์ ดังภาพที่ 1                ขั้นตอนที่ 2   คลิกเลือกห้องสมุดที่ต้องการจอง Smart Room Bangkok Campus   ดังภาพที่ 2                ขั้นตอนที่ 3   ทำการยืนยันตัวตนโดยการเข้าสู่ระบบการจองด้วย ICIT Account ดั

การจองห้องโสตทัศนศึกษาและห้องประชุม (สำหรับบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง)

การใช้งานระบบการจองห้องโสตทัศนศึกษาและห้องประชุมออนไลน์ (สำหรับบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง)  ขั้นตอนเข้าใช้งานระบบการจองห้องโสตทัศนศึกษาและห้องประชุมแบบออนไลน์ ดังนี้ 1 .       1.   เข้าระบบ Back office  ของสำนักหอสมุดกลาง จากเวปไซต์ http://library.kmutnb.ac.th/th/ 2.   จากหน้า Home ของ Back Office หรือเข้าผ่าน http:// 202.28.17.23/ backoffices/ เลือกระบบงานภายใน 3.                      3.   เลือกหัวข้อ ระบบจองห้องประชุมต่าง ๆ 4.        เข้าสู่ระบบเพื่อจองห้องประชุมออนไลน์  และตรวจสอบวันเวลาในการใช้ห้องโสตทัศนศึกษา/ห้องประชุม ว่าตรงกับผู้ใช้รายอื่นหรือไม่ 5.        บันทึกรายการจอง ลงรายละเอียด วัน เวลา ที่ต้องการจองห้องโสตทัศนศึกษา/ห้องประชุม โดยมีรายละเอียดสำหรับห้องโสตทัศนศึกษาเพิ่มเติม ทั้งชื่อห้อง สถานที่ตั้ง ความจุที่นั่งภายในห้องสูงสุด ผู้ใช้บริการสามารถระบุความต้องการด้านที่นั่งว่าต้องการห้องประชุมรูปแบบใด เช่น classroom, ตัว U หรือ ประชุมโต๊ะกลม เป็นต้น 6.        ระบุรายละเอียดตามต้องการที่กำหนดให้   ทำการบันทึกจองห้องประชุม                           บันทึกรายละเอียดข้อมูลการใ

การเขียนโปรแกรมภาษา Python Socket IO

Socket.IO คืออะไร      Socket.IO เป็นไลบรารีที่ช่วยให้สามารถสร้างการสื่อสารแบบเรียลไทม์ระหว่างไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้โปรโตคอล WebSocket ซึ่งสามารถใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ต้องการการสื่อสารสองทางแบบเรียลไทม์ เช่น แชทแอปพลิเคชัน เกมออนไลน์ หรือการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ การติดตั้ง Socket.IO ใน Python ก่อนที่จะเริ่มต้นพัฒนา คุณจำเป็นต้องติดตั้งไลบรารีที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถติดตั้งได้ง่าย ๆ ผ่าน pip:     pip install flask flask-socketio ตัวอย่างของการเขียน python โดยใช้ socket IO ควบคุมห้อง Smart Room  import socketio sio = socketio.Client(reconnection=True, reconnection_attempts=5, reconnection_delay=1) # สร้างไคลเอนต์ Socket.IO sio = socketio.Client() @sio.event def connect():     now = datetime.now()     print('connection established',now) @sio.event def control(data):     #ทำงานเมื่อมีเหตุการใน Event API Funtion Control  @sio.event def disconnect():     now = datetime.now()     print('disconnected from server',now) # เชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ Node.js sio.connect(&